วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

.
...ขอต้อนรับทุกท่านสู่เว็บบล็อก"nampao"น่ะค่ะ...



คำอธิบายรายวิชา
.....ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟคอมพิวเตอร์  และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็คเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ  ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิคส์และการอ้างอิง ฝึกปฎิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้

วัตถุประสงค์
..........เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรจะมีพฤติกรรมความสามารถดังนี้
.....1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
.....2. อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสรสนเทศและการสื่อสารได้
.....3. ยดตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
.....4. อธิบายความหมายและความสำคัญของระบบได้ 
.....5. อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
.....6. บอกความหมายขององค์ประกอบสำคัญของคอมพิวดเตอร์ได้
.....7. อธิบายหน้าที่องค์ปะรกอบของคอมพิวเตอร์ได้
.....8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
.....9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
.....10. บอกความสัมพันธ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ละเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
.....11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
.....12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
.....13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่างๆที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
.....14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน
.....15. นำเสนอสืื่่่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้




ความซื่อสัตย์
    .....ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า “ ซื่อ ” ว่าหมายถึง ตรง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่คดโกง ส่วนคำว่า “ ซื่อตรง ” หมายถึง ความประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่คดโกง และ     “ ซื่อสัตย์ ” หมายถึง ความประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกหลวง หรือเราอาจจะพูดง่ายๆว่าคนที่ซื่อสัตย์ ก็คือ คนที่เป็นคนตรง ประพฤติสิ่งใดก็ด้วยน้ำใสใจจริง     
“ ความซื่อสัตย์ ” เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากขาด “ ความซื่อสัตย์ ” แล้ว สังคมคงยุ่งเหยิง เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน เกิดความโกลาหลไปทั่ว ไม่รู้สิ่งไหนจริง สิ่งไหนเท็จ ถ้าขาดในระดับบุคคลก็จะกลายเป็นคนไม่น่าเชื่อถือและมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ส่วนในระดับประเทศ ก็จะไร้ซึ่งเกียรติภูมิ เป็นที่ดูถูกของชาติอื่น ซึ่งความซื่อสัตย์ที่ว่านี้ รวมไปถึงการมี สัจจะ พูดจริงทำจริง ไม่โกหกหรือพูดเหลวไหล พูดคำไหนเป็นคำนั้นด้วย คนเช่นนี้ไปที่ใด ย่อมเป็นที่เคารพนับถือว่าเป็นคนมีเกียรติ ข้อสำคัญ ถ้าทุกคนทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ย่อมจะทำให้สังคม และประเทศชาติมีความมั่นคง สงบสุข อันมีผลดีต่อประชาชนคือ ตัวเราทุกคนนั่นเอง
  "ความซื่อสัตย์" นั้้นมีหลายอย่าง เช่น ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ความซื่อสัตย์ต่อครอบครัว ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ความซื่อสัตย์ต่อมิตร และความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ
.....1. การไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เช่น เราตั้งใจว่าจะไม่กินของหวาน ของมันเพื่อลดน้ำหนัก แต่เราก็แอบกิน แม้คนอื่นไม่ทราบ แต่เราก็รู้ตัวเราดี ผลเสีย คือ เราก็จะอ้วน และเป็นโรคอื่นตามมา หรือตั้งใจจะอ่านหนังสือ แล้วก็ไม่อ่าน เพราะมัวไปเที่ยวเล่น ดูหนัง หรือเล่นเนท ผลเสียคือ เราอาจจะสอบตก ซึ่งหากเราขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผัดผ่อนไปเรื่อยๆ ในระยาวเราอาจจะกลายเป็นคนขาดระเบียบ ขาดความตั้งใจ กลายเป็นคนทำอะไรไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต
.....2. การไม่ซื่อสัตย์ต่อครอบครัว เช่น ไปมีชู้ มีกิ๊ก ติดพันนักร้องนักแสดง มีความสัมพันธ์กับคนที่มีครอบครัวแล้ว แม้จะไม่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดู แต่ก็จะทำให้ละเลยต่อลูกเมีย หรือสามี สร้างปัญหาในชีวิต ก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นที่ดูถูกเหยียดหยามของผู้อื่น หากเป็นหัวหน้าไปมีสัมพันธ์กับลูกน้อง ก็จะทำให้ลูกน้องคนอื่นๆขาดความเชื่อถือ หรือหัวหน้าระดับสูงขึ้นไปไม่ให้ความไว้วางใจ เป็นต้น
.....3. การไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน เช่น เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจใช้อำนาจในทางมิชอบ กระทำทุจริต หรือแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือครอบครัว ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและบ้านเมืองดังที่เราจะเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน หรือหากเป็นพ่อค้าแม่ขาย ชาวสวนชาวนาไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ขายของโกงเขา หรือใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ฯลฯ ก็จะทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท โรคภัยไข้เจ็บจากสารพิษสะสมในร่างกาย เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น
.....4. การไม่ซื่อสัตย์ต่อมิตร นอกเหนือจากญาติแล้ว เป็นธรรมดาที่คนเราต้องมีการคบหาสมาคมกับผู้อื่น เป็นมิตรต่อกัน และต้องพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งความเป็นมิตรนั้นจะคงทนถาวรอยู่ได้ตลอดไปก็ต้องมีความซื่อสัตย์ ไม่คิดคดทรยศต่อกัน มิตรภาพจึงจะยาวนาน หากไม่ซื่อตรงต่อกันแล้ว ก็ย่อมจะแตกความสามัคคี ทำให้เราไม่มีเพื่อน หรืออยู่ในสังคมได้ยากเพราะกลัวคนอื่นจะหักหลังเราตลอดเวลา เป็นต้น
.....5. การซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะหากชาติอยู่ไม่ได้ ประชาชนคนในชาติก็อยู่ไม่ได้ และหากชาติล่มสลาย ก็คือพวกเราที่จะกลายเป็นคนไร้แผ่นดิน ซึ่งคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
     วิเคราะห์เปรียบเทียบ ความหมายกับคำอิ่นๆที่มีความ     หมายใกล้เคียงกัน
   .....ยุติธรรม  ความเที่ยงธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วยเหตุผล และสามารถแยกแยะได้ว่าอะไรคือผิด ชอบ ชั่ว ดี ซึ่งในความหมายเชิงลึกนั้นคงต้องแบ่งเป็นเรื่อง ๆ ไป หรือโลกยุคปัจจุบันและโลกในอนาคตอันใกล้ กำลังลดทอนความมีคุณธรรมจริยธรรม ความดีงาม ความยุติธรรม ความชอบธรรม เหลือแค่เพียงความถูก-ผิดทางกฎหมาย และโดยเฉพาะความถูก-ผิดตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานของตนเอง จึงเกิดการโต้แย้งโต้เถียง ปกป้องและกล่าวหาผู้อื่นในทำนองว่าตนเองทำถูกต้องตามกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานที่ตนสังกัด ทำถูกต้องตามหน้าที่ของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่ ส่วนคนอื่นที่ประท้วงหรือต่อต้าน เป็นฝ่ายผิด ไม่รู้เรื่องหรือแม้กระทั่งหาเรื่อง ในทางกลับกันอีกฝ่ายก็โจมตีอีกฝ่ายว่าผิด และบอกว่าตนเองถูก
    ..... คุณธรรมจริยธรรม คำว่า คุณธรรม ตามความหมายในพจนานุกรม หมายถึง สภาพของคุณงามความดี ส่วนคำว่า จริยธรรม ตามความหมายแยกออกเป็น 2 คำคือ จริยหมายถึง การประพฤติปฏิบัติ และ ธรรม หมายถึง คุณความดี ความจริง ความถูกต้อง,กฎ,กฎเกณฑ์,กฎหมาย หลักคำสอนในศาสนาหากจะสรุปรวมทั้งคุณธรรม และจริยธรรม ตามความเข้าใจของผู้เรียบเรียงคงหมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี ทั้งกาย วาจา และใจ ดังนั้นเมื่อมีการกล่าวถึงคำว่าคุณธรรมก็มักจะกล่าวถึงคำว่าจริยธรรมรวมกันไปด้วยในเรื่องของคุณธรรม และจริยธรรม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ หลักราชการ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักคุณธรรม และจริยธรรมในวิชาชีพข้าราชการที่สำคัญยิ่งสำหรับให้ข้าราชการพึงยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติราชการ 10 ประการ มีใจความสำคัญ สรุปได้ดังนี้
.....1. ความสามารถ หมายถึงความชำนาญในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆให้เป็นผลสำเร็จได้ดียิ่งกว่าผู้มีโอกาสเท่าๆกัน
.....2. ความเพียร หมายถึงความกล้าหาญไม่ย่อท้อต่อความลำบาก และบากบั่นเพื่อจะข้ามความขัดข้องให้จงได้โดยใช้ความวิริยภาพมิได้ลดหย่อน
.....3. ความมีไหวพริบ หมายถึง รู้จักสังเกตเห็นโดยไม่ต้องมีใครเตือนว่า เมื่อมีเหตุเช่นนั้นจะต้องปฏิบัติการอย่างนั้น เพื่อให้บังเกิดผลดีที่สุดแก่กิจการทั่วไปและรีบทำการอันเห็นควรนั้นโดยฉับพลัน
.....4. ความรู้เท่าถึงการณ์ หมายถึง รู้จักปฏิบัติการอย่างไรจึงจะเหมาะสมแก่เวลา และอย่างไรที่ได้รับเหตุผลสมถึงจะเป็นประโยชน์ที่สุด
.....5. ความซื่อตรงต่อหน้าที่ หมายถึง ตั้งใจกระทำกิจการซึ่งได้รับมอบให้เป็นหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
.....6. ความซื่อตรงต่อคนทั่วไป หมายถึง ให้ประพฤติซื่อตรงต่อคนทั่วไป รักษาตนให้เป็นคนที่เขาทั้งหลายจะเชื่อถือได้
.....7. ความรู้จักนิสัยคน ข้อนี้เป็นข้อสำคัญสำหรับผู้มีหน้าที่ติดต่อกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย
.....8. ความรู้จักผ่อนผัน หมายความว่าต้องเป็นผู้ที่รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวว่าเมื่อใดควรตัดขาดและเมื่อใดควรโอนอ่อนหรือผ่อนผันกันได้มิใช่แต่จะยึดถือหลักเกณฑ์หรือระเบียบอย่างเดียว ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียควรจะยืดหยุ่นได้
.....9.  ความมีหลักฐาน ข้อนี้ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3ประการ คือ มีบ้านอยู่เป็นที่เป็นทางมีครอบครัวอันมั่นคงและตั้งตนไว้ในที่ชอบ
.....10. ความจงรักภักดี หมายความว่า ยอมเสียสละเพื่อประโยชน์แห่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชพระราชทานคุณธรรม 4 ประการแก่ข้าราชการและประชาชนในคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี 
 .....สุจริต คือ การประพฤติดี การประพฤติงาม หมายถึงการทำความดี,การทำถูกต้องสุจริต มี อย่าง คือ กายสุจริต การประพฤติดีทางกาย วจีสุจริต การประพฤติดีทางวาจา มโนสุจริต การประพฤติดีทางใจสุจริต เป็นสิ่งที่ดีงาม ควรประพฤติให้มีในตน เพราะผู้ประพฤติสุจริตย่อมได้รับผลดังนี้
.....๑. ตนเองตำหนิตนเองไม่ได้
.....๒. ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากผู้รู้
.....๓. ชื่อเสียงงดงามขจรไป
.....๔. เวลาใกล้ตายก็มีสติ ไม่หลงตาย
.....๕. ตายแล้วไปสู่สุคติ
.....ความอดทน หรือ ความแข็งแกร่ง หรือเป็นที่รู้จักอย่างเช่น ความกล้าหาญ หรือ ใจมุ่งมั่น  คือความสามารถในการเผชิญหน้ากับความกลัว ความเจ็บปวด อันตราย การเสี่ยงภัย ความไม่แน่นอน การข่มขู่ "ความกล้าหาญภายนอก" คือความกล้าหาญหรือความอดทนเมื่อต้องพบกับความเจ็บปวดทางกาย ความลำบาก ความตาย การคุกคามเอาชีวิต "ความกล้าหาญภายใน" คือความสามารถในการทำงานหรือกิจการต่างๆ อย่างถูกต้องเป็นธรรม ถึงแม้ว่าจะต้องพบกับการคัดค้านอย่างกว้างขวาง ถึงแม้ว่าจะต้องพบกับความอับอาย เรื่องอื้อฉาว และการบั่นทอนกำลังใจ
    วิเคราะห์ ประโยชน์และคุณค่าของ ความซื่อสัตย์   ประโยชน์
.....1 การได้รับ ความไว้วางใจ จากหัวหน้างานของคุณ พนักงานที่มีความซื่อสัตย์ย่อมทำให้หัวหน้างานพร้อมและกล้าพอที่จะมอบหมายงานที่สำคัญหรือเป็นความลับของบริษัทให้กับคุณ เพราะหัวหน้าไว้วางใจตัวคุณเพราะรู้ว่างานที่มอบหมายให้ไปนั้นคุณต้องทำเสร็จและข้อมูลที่คุณทำนั้นมีความถูกต้องอย่างแน่นอน 
.....2. ความน่าเชื่อถือ ได้ของตัวคุณ คุณจะได้รับการยอมรับและการกล่าวถึงในทางที่ดีจากบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งลูกค้าของคุณเอง เช่น ยอมรับว่าคุณมีความรับผิดชอบและความตั้งใจทำงาน เนื่องจากคุณไม่เคยที่จะขาดงานหรือมาสาย รวมทั้งข้อมูลที่คุณให้นั้นมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันเสมอ
.....3. สร้างผลงาน ( Performance) ของตัวคุณ ความซื่อสัตย์ทำให้คุณมีโอกาสทำงานใหญ่หรือสำคัญ ซึ่งอาจเป็นงานที่มีผลกระทต่อหน่วยงานหรือองค์การ โดยคุณจะมีโอกาสแสดงฝีมือการทำงานของคุณและโอกาสนี้เองย่อมจะส่งผลต่อเนื่องไปยังผลผลการปฏิบัติงาน ( Performance) และมูลค่าเพิ่ม ( Added Value) ของตัวคุณเอง
.....4. รักษาผลประโยชน์ของหน่วยงาน/บริษัท หากคุณมีความซื่อสัตย์แล้วล่ะก็ ย่อมหมายถึงคุณไม่ได้เอาเปรียบหน่วยงานและบริษัท เนื่องจากคุณทำงานอย่างเต็มที่ ได้ปฏิบัติตามระเบียบและรักษาทรัพย์สินของบริษัท และรวมถึงคุณไม่เอาความลับของบริษัทไปเปิดเผยให้คู่แข่งรับรู้ ซึ่งหมายถึงคุณกำลังรักษาผลประโยชน์ให้กับหน่วยงานและบริษัทของคุณเอง
 คุณค่า
.....ความมีเกียรติ และความซื่อสัตย์ ซึ่งอาจจะหมายถึง จิตใต้สำนึก และพฤติกรรมนั่นเอง จิตใต้สำนึกของคนที่มี self-esteem จะต้องรู้จักบาป บุญคุณโทษ รู้สิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี ความสื่อสัตย์ ความมีเกียรติ ส่วนพฤติกรรมของ self-esteem มีความสามารถที่จะคิดแก้ปัญหา เชื่อมั่นในความคิด และความสามารถ ของตัวเอง สามารถเลือกวิธีการตัดสินใจที่ถูกต้อง หากสูญเสียความสมดุลก็จะทำให้เกิดปัญหา เช่น หากจิตใต้สำนึกไม่แข็งแรง หรือสมบูรณ์พอ ก็จะทำให้คนเกิด พฤติกรรมเชื่อมั่นตัวเอง มากเกินไป หยิ่งยโส ดูถูกคนอื่น หากแต่มีแต่จิตใต้สำนึกที่ดี แต่ไม่มีความมุ่งมั่น ที่จะ ประสบผลสำเร็จชีวิต ก็อาจจะไม่ถึงเป้าหมาย ดังนั้นบุคคลที่ชอบพูดถึงแต่ตัวเอง อวดดี ดูถูกคนอื่น คนพาล ชอบเอาเปรียบคนอื่น คนที่กล่าวโทษคนอื่นไม่ถือว่า มี self-esteem
 Self-esteem ประกอบด้วย ความตระหนักถึงคุณค่าตนเอง (Self-respect) และ ความเชื่อมั่นในความสามารถตนเอง(Self-efficacy) จนกลายเป็น ภาพแห่งตน (Self-image)
    ศึกษาพฤติกรรม ความซื่อสัตย์จากสื่อ ICTโดยวิเคราะห์ให้ตรงกับความหมาย
.....การหาสาระข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตหรือดูข่าวสารทางโทรทัศน์เรื่องที่เราสนใจ เราก็อาจนำข่าวสารที่เราได้รับหรือได้อ่านมานำไปบอกกล่าวหรือเล่าให้เพื่อนและคนรู้จักฟังโดยเล่าเหตุการณ์ที่เราได้อ่านหรือดูมาจริงๆ ไม่มีการเสริมหรือเติมแต่งเรื่องนั้น
    
 ศึกษาเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับความซื่อสัตย์จากเพลง


.....เพลง ความซื่อสัตย์ ของ Bodyslam
เนื้อหาจะประมาณว่า ผู้ชายยังรอคนรักเขาอยู่เสมอไม่ว่าเวลาจะนานแค่ไหนยังรักคนรักของเขาแค่คนเดียวและไม่เคยคิดที่จะเปลี่ยนใจไปรักคนอื่น
.....เพลงจากนี้ไปจนนิรันดร์ ของ จิรากร
เนื้อหาจะประมาณว่า จากเมื่อก่อนเขาไม่เคยที่จะรู้เลยว่าชีวิตของคนเรามันดียังไงแต่เมื่อมาเจอเธอคนนี้แค่ครั้งเดียว เธอคนนี้ก็ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนเป็นคนเฉยชาเขาก็หวั่นไหวทุกครั้งเมื่ออยู่ใกล้เธอและเมื่อได้เธอมาอยู่เคียงข้างเขา เขาจึงให้สัญญากับเธอคนนี้ว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเธอก็แล้วแต่เขาจะไม่มีวันหายไป จะคอยดูแลเธอเมื่อเธอล้ม จะคอยเป็นลมเมื่อเธอร้อนใจ
.....เพลงลูกอม ของ วัชราวลี
เนื้อเพลงจะประมาณว่า เรายังมีกันเสมอไม่ว่าปัญหาอะไรจะเกิดขึ้นจะรักแค่เธอจะซื่อสัตย์ต่อเธอและเขาสัญญาจะดูแลเธอจากนี้ตลอดไป


ศึกษาเนื้อหาสาระ เกี่ยวกับความซื่อสัตย์จากวรรณกรรม/สุภาษิต/คำพังเพย




นิทานเรื่อง เด็กเลี้ยงแกะ
.....เรื่องมีอยู่ว่า มีเด็กคนหนึ่งทำหน้าที่ต้อนแกะออกไปกินหญ้าทุกๆ เช้า มีอยู่วันหนึ่งเขารุ้สึกเบื่อเลยหาอะไรสนุกๆ ทำเล่นเขาจึงแกล้งตะโกนออกมาว่า หมาป่าจะมากินแกะแล้ว เพื่อให้คนที่อยู่แถวนั้นวิ่งกันเขาทำแบบนี้อยู่หลายครั้ง จนมีอยู่วันหนึ่งหมาป่าได้มากินลูกแกะที่เค้าต้อนออกไปกินหญ้าจริงๆ เขาได้ร้องตะโกนออกแต่ไม่มีใครช่วยเขาเลยเพราะทุกคนนึกว่าเด็กนั้นโกหาอีกตามเคย เด็กคนนั้นจึงเสียลูกแกะไปทั้งฝูงและนั่งร้องไห้โดยที่ไม่มีใครช่วยเหลือ 

เลือก ประพฤติตน เกี่ยวกับความซื่อสัตย์ให้ดีที่สุดและมากที่สุ
.....ไม่พูดคำโกหกหรือสร้างเรื่องขึ้นมาทั้งที่ไม่เป็นความจริง
.....ซื่อสัตย์กับการเรียน เช่น ไม่ลอกเพื่อนเวลาสอบหรือเวลาที่อาจารย์ให้การบ้านมา
.....รู้จักเสียสละ เช่น เมื่อเราขึ้นรถเมล์เราเจอคนแก่ เราก็ควรลุกขึ้นแล้วให้คนแก่นั่o .....ไม่ทำสิ่งที่คิดว่าเป็นสิ่งที่ผิด เช่น ไม่เห็นประโยชน์ส่วนอื่นมากกว่าส่วนรวม